บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 11
วิชา
การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอนอาจารย์
กฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด
วันอังคารที่
31 มีนาคม พ.ศ. 2558
กลุ่มเรียน 104
การเรียนการสอน
วันนี้เป็นการเรียนเข้าสู่เนื้อหาในหัวข้อเรื่อง การเขียนแผนการจัดประสบการณ์
ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย เป็นการชี้แจงและอธิบายเนื้อหา ดังนี้
การจัดทำแผนการจัดประสบการณ์
- ศึกษาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2546
และเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง
- วิเคราะห์หลักสูตรสถานศึกษาและความสัมพันธ์ของมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตัวบ่งชี้และสภาพที่พึงประสงค์ของเด็กอายุ 0-3
ปี และ 3-5 ปี
- วิเคราะห์สาระการเรียนรู้ ประสบการณ์สำคัญ
- กำหนดรูปแบบการจัดประสบการณ์
- เขียนแผนการจัดประสบการณ์
การเขียนแผนการจัดประสบการณ์ ประกอบด้วย 5 ขั้น
คือ
ขั้นที่ 1 เลือกเรื่อง
สังเกตความสนใจ
ความต้องการของเด็ก เลือกเรื่องที่ชัดเจน ไม่กว้างจนเกินไป สามารถเชื่อมโยง
กับเรื่องอื่นๆได้ ( ไม่ควรเลือก หัวข้อสัตว์
คมนาคม เพราะเป็นหัวข้อที่ใหญ่ ควรเลือก หัวข้อช้าง สุนัข ผีเสื้อ บ้าน น้ำ รถไฟ ฯลฯ
เพราะเป็นหัวข้อย่อย )
ขั้นที่ 2 ระดมความคิด
เลือกสิ่งที่เด็กรู้แล้ว
สิ่งที่เด็กต้องการรู้ และสิ่งที่เด็กควรรู้
โดยย่อยหัวข้อที่เราเลือกเป็นข้อย่อยๆ
ขั้นที่ 3 คิดกิจกรรม
คิดกิจกรรมตามความคิดริเริ่มของเด็ก
/ ครู และแยกตามกิจกรรมหลัก ดังนี้
1.
กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
2.
กิจกรรมสร้างสรรค์ (ศิลปะ)
3.
กิจกรรมเสรี (การเล่นตามมุม)
4.
กิจกรรมเสริมประสบการณ์ (วงกลม)
5.
กิจกรรมการเล่นกลางแจ้ง
6.
กิจกรรมเกมการศึกษา
ขั้นที่ 4 จัดกิจกรรมตามพัฒนาการ
เลือกกิจกรรมที่เหมาะต่อพัฒนาการของเด็กทางด้านร่างกาย
อารมณ์ สังคมและสติปัญญา
ขั้นที่ 5 จัดทำแผนการจัดประสบการณ์
ทำบันทึกการสอน พิจารณากิจกรรมใดทำก่อนหลัง
และจัดกิจกรรมลงตามรูปแบบที่ให้เลือก
แนวการประเมินผลการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
- ประเมินผลทั้งความรู้ ความคิด ความสามารถ
ทักษะและกระบวนการ เจตคติ คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมรวมทั้งโอกาสในการเรียนรู้ของผู้เรียน
- วิธีวัดและประเมินผลสอดคล้องกับมาตรฐานและตัวชี้วัดของการศึกษาปฐมวัยที่กำหนด
- ประเมินผลอย่างตรงไปตรงมา
และประเมินภายใต้ข้อมูลที่มีอยู่
- ผลการประเมินต้องนำไปสู่การแปรผลและลงข้อสรุปที่สมเหตุสมผล
- มีความเที่ยงตรงเป็นธรรม
ทั้งในด้านของวิธีวัดและโอกาสของการประเมิน
จุดมุ่งหมายของการประเมิน
- วินิจฉัยความรู้ ความคิด ความสามารถ
ทักษะและกระบวนการ เจตคติ คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม
เพื่อพัฒนาผู้เรียนได้เต็มตามศักยภาพ
- ใช้เป็นข้อมูลสะท้อนกลับว่าครูสามารถสอนบรรจุกรอบมาตรฐานการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยที่กำหนดไว้
- ใช้เป็นข้อมูลในการสรุปผลการเรียนรู้และเปรียบเทียบถึงระดับพัฒนาการของผู้เรียน
การวัดและประเมินผลตามสภาพจริง
- ประเมินกระบวนการเรียนรู้ที่นำมาสู่ผลผลิตจากการเรียนรู้
- ประเมินความสามารถเพื่อส่งเสริม หรือ แก้ไขปรับปรุง
เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาอย่างเต็มศักยภาพเป็นรายบุคคล ( ความสามารถ ความสนใจ
ความต้องการ )
- ให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการประเมินทั้งการประเมินตนเองและเพื่อน
- ข้อมูลที่ได้จากการประเมินจะสะท้อนกระบวนการเรียนการสอนและวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครู
- ประเมินการนำไปใช้ในชีวิตจริง
- ประเมินด้านต่างๆ
ด้วยวิธีการที่หลากหลายในสถานการณ์ต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
แนวทางการให้คะแนนเพื่อการประเมิน : Rubric
- แนวทางการประเมินจากสภาพจริง
ให้ความสำคัญต่อการแสดงออกที่แท้จริงของผู้เรียนขณะทำกิจกรรม
- งานหรือกิจกรรมที่กำหนดให้ผู้เรียนทำมีแนวไปสู่ความสำเร็จของงานและมีวิธีการหาคำตอบหลากหลายแนวทาง
- ต้องมีการกำหนดแนวทางการให้คะแนนอย่างชัดเจน
จะต้องมีมาตรวัดว่าผู้เรียนทำอะไรได้สำเร็จและระดับความสำเร็จอยู่ในระดับใด
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
การเขียนแผนการจัดประสบการณ์ถือเป็นส่วนสำคัญของการประกอบวิชาชีพครู
ผู้ที่จะเป็นครูในอนาคตต้องเขียนแผนเป็นและถูก
เพราะก่อนที่เราจะสอนเราจะต้องทำแผนการสอนก่อนเสมอเพื่อวางแผนล่วงหน้าในการจัดกิจกรรมร่วมกับเด็กได้เหมาะสมและสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยและนำแผนการจัดประสบการณ์ไปใช้ในการจัดกิจกรรมประจำวันให้บรรลุผลตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
การประเมิน
ตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อยถูกระเบียบมหาวิทยาลัย
ฟังและจดบันทึกเนื้อหาความรู้เพิ่มเติมจากที่อาจารย์บอกและยกตัวอย่าง
เพื่อน
: ตั้งใจฟังเนื้อหาที่อาจารย์สอน บ้างจดบันทึกลงสมุด บ้างนั่งฟังและจดจำ แต่โดยรวมตั้งใจฟังทุกคน การแต่งกายเรียบร้อย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น