วันจันทร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 14

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 14
วิชา การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอนอาจารย์ กฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด
วันอังคารที่  30 เมษายน พ.ศ.  2558
กลุ่มเรียน 104 



การเรียนการสอน

                การเรียนในวันนี้เป็นการจัดกิจกรรม “ นิทรรศการศิลปะสร้างสรรค์ ”  โดยที่พวกเรานักศึกษาชั้นปีที่ 3 กลุ่มเรียน 104 ร่วมกันจัดนิทรรศการเองโดยรวบรวมผลงานศิลปะที่ได้เรียนในเทอมนี้ของทุกคนมาช่วยกันจัดนิทรรศการ  โดยมีผลงานตามภาพประกอบดังนี้



                หลังจากจัดนิทรรศการเสร็จ  อาจารย์ให้คำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดนิทรรศการ  เช่น  การจัดโชว์ผลงานควรจัดวางผลงานเรื่องเดียวกันอยู่กลุ่มเดียวกันหรือจัดวางผลงานที่ต่อเนื่องกัน  จัดป้ายชื่อบอกมุมของผลงาน  วิธีการวางแฟ้มที่ผู้ชมผลงานอยากจะหยิบแฟ้มดู  และชมเชยกลุ่มเราว่าจัดงานนิทรรศการใช้เวลาเร็ว  มีการเขียนกระดานบอกมุมสวยงาม  มีการดัดแปลงเก้าอี้ต่อกันเป็นโต๊ะวางผลงาน (เป็นการแก้ปัญหาที่ดี) ฯลฯ


ผลงานสอนศิลป์  กล่องตกใจ



                วิธีการทำกล่องตกใจ
1.  วาดรูปตัวโจ๊กเกอร์หรือภาพที่ต้องการลงบนกระดาษลัง
2.  ตัดกระดาษตามวาดที่ร่างไว้
3.  ระบายสีตัวโจ๊กเกอร์ด้วยสีโปสเตอร์
4.  เมื่อสีแห้งแล้วตัวเส้นตัวปากกาเคมีสีดำ
5.  ตัดกระดาษแข็งกว้างประมาณ 3.5 ซม. ความยาวตามต้องการ วางซ้อนกัน 3 เส้น  พับสลับซ้าย – ขวา เป็นสปิง
6.  นำกระดาษสีห่อกล่องของขวัญและตกแต่งให้สวยงาม
7.  นำกาวสองหน้าติดตัวโจ๊กเกอร์กับสปิงและกล่องของขวัญ
8.  ปิดฝากล่องของขวัญ นำริบบิ้นผ้าผูกโบว์ให้สวยงาม


แจกรางวัลเด็กดี


                ดิฉันได้เป็นส่วนหนึ่งของคนที่ได้รับรางวัลเด็กดี  ยอมรับว่ามีความประทับใจมากเพราะนี่เป็นครั้งแรกที่ได้ออกมารับรางวัลแบบนี้  ต้องขอขอบคุณอาจารย์ที่มีรางวัลมามอบให้นักศึกษาเป็นจำนวนมาก ดิฉันเลยได้รับโอกาสที่จะได้รับรางวัลด้วย  ถึงรางวัลที่ดิฉันได้รับมาจะไม่ใช่รางวัลใหญ่แต่ก็เป็นความภาคภูมิใจและเป็นแรงบรรดาลใจให้นักศึกษาทุกคนตั้งใจเรียนต่อไป


รูปรวมพวกเรากลุ่ม 104
  



การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

            สามารถนำเทคนิคการจัดนิทรรศการมาปรับใช้ในการจัดห้องเรียนหรือจัดบอร์ดงานนิทรรศการต่างๆได้  หลักการวางผลงานที่น่าสนใจ  การจัดบอร์ดโชว์ผลงานแบบไหนที่สร้างจุดเด่นและสวยงาม  การจับผ้าบอร์ดหรือโต๊ะวางผลงานและอื่นๆอีกมากมายที่เราสามารถนำไปปรับใช้ในอนาคตได้ 

การประเมิน

            ตนเอง  :  เข้าเรียนตรงเวลา  แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  มีส่วนร่วมและตั้งใจในการจัดงานนิทรรศการ การนำผลงานของตนเองมาโชว์  เขียนบอร์ดกระดาน  รวมทั้งจัดวางผลงานต่างๆด้วยความตั้งใจ  เมื่อเสร็จกิจกรรมช่วยกันเก็บผลงานและอุปกรณ์เข้าที่อย่างเรียบร้อย
             เพื่อน  :  แต่งกายเรียบร้อย  เข้าเรียนตรงเวลา  ทุกคนช่วยกันจัดนิทรรศการอย่างตั้งใจและสามัคคีกัน  มีการวางแผนแบ่งงานกันทำในหน้าที่ต่างๆและช่วยกันเก็บอุปกรณ์หลังกิจกรรมเสร็จ
             อาจารย์  :  เข้าสอนตรงเวลา  แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  จัดเตรียมอุปกรณ์การจัดนิทรรศการบางส่วนให้นักศึกษา  ให้คำแนะนำและเทคนิคในการจัดนิทรรศการให้กับนักศึกษาเพื่อนำมาปรับปรุงให้ดีขึ้น  จัดเตรียมของขวัญรางวัลเด็กดีให้นักศึกษาเพื่อเป็นแรงผลักดันให้นักศึกษาตั้งใจเรียนยิ่งขึ้น



วันเสาร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 13

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 13
วิชา การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอนอาจารย์ กฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด
วันอังคารที่  21 เมษายน พ.ศ.  2558
กลุ่มเรียน 104



การเรียนการสอน

                การเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาได้ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ตามแผนที่กลุ่มของตนเองได้เลือกไว้  โดยใช้เวลาประมาณ 30 – 40 นาที  ดังนี้

กลุ่มที่ 1 หน่วย กล้วย
กิจกรรมพื้นฐาน                  1.  กิจกรรมวาดภาพด้วยสีเทียน
                                            2.  กิจกรรมเป่าสี
                                            3.  กิจกรรมตัดปะ
กิจกรรมพิเศษ                      4.  กิจกรรมขยำกระดาษรูปกล้วย

กลุ่มที่ 2 หน่วย ปลา
กิจกรรมพื้นฐาน                  1.  กิจกรรมปั้นดินน้ำมัน
                                             2.  กิจกรรมวาดภาพด้วยสีน้ำ
                                             3.  กิจกรรวาดภาพด้วยสีเทียน
กิจกรรมพิเศษ                      4.  กิจกรรมเปเปอร์มาเช่รูปปลา

กลุ่มที่ 3 หน่วย นก
กิจกรรมพื้นฐาน                  1.  กิจกรรมปั้นดินน้ำมัน
                                             2.  กิจกรรมตัดปะ
                                             3.  กิจกรรวาดภาพด้วยสีเทียน
กิจกรรมพิเศษ                      4.  กิจกรรมประดิษฐ์นกจากถุงกระดาษ

กลุ่มที่ 4 หน่วย ผลไม้
กิจกรรมพื้นฐาน                  1.  กิจกรรมวาดภาพอิสระด้วยสีไม้
                                             2.  กิจกรรมตัดปะ
                                             3.  กิจกรรฉีกปะ
กิจกรรมพิเศษ                      4.  กิจกรรมโมบายรูปผลไม้

กลุ่มที่ 5 หน่วย ดอกไม้
กิจกรรมพื้นฐาน                  1.  กิจกรรมวาดภาพด้วยสีเทียน
                                             2.  กิจกรรมวาดภาพด้วยสีน้ำ
                                             3.  กิจกรรปั้นดินน้ำมัน
กิจกรรมพิเศษ                      4.  กิจกรรมขยำกระดาษรูปดอกไม้

ภาพกิจกรรม


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

            การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัยเราควรเลือกกิจกรรมที่เหมาะสมและเกิดประโยชน์กับเด็กมากที่สุด  เพื่อช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในทุกๆด้าน  การที่เราได้ปฏิบัติฝึกสอนจริงในวันนี้เป็นการฝึกเพื่อให้เราได้คุ้นเคยและลองปฏิบัติจริงๆกับสถานการณ์จริง  ซึ่งเราสามารถนำความรู้และประสบการณ์สอนมาปรับใช้ในการสอนได้

การประเมิน

            ตนเอง  :  เข้าเรียนตรงเวลา  แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  วันนี้ได้ลองออกมาเป็นครูฝึกสอนเด็กๆทำให้ได้รู้หลักการสอนมากขึ้น  ได้รู้จักวิธีการแก้ไขปัญหา  การพูดคุยและอธิบายกิจกรรมต่างๆกับเด็ก
             เพื่อน  :  แต่งกายเรียบร้อย  เข้าเรียนตรงเวลา  ตั้งใจปฏิบัติกิจกรรมการนำเสนอกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์และบทบาทสมมุติในการเป็นนักเรียน

             อาจารย์  :  เข้าสอนตรงเวลา  แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  ให้ข้อเสนอแนะและแนะนำวิธีการสอนให้นักศึกษานำไปปฏิบัติ



วันอังคารที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 12

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 12
วิชา การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอนอาจารย์ กฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด
วันอังคารที่  7  เมษายน พ.ศ.  2558
กลุ่มเรียน 104




หมายเหตุ    ไม่ได้เข้าเรียน  เนื่องจากไปโรงพยาบาล  (มีใบรับรองแพทย์)

การเรียนการสอน
            อาจารย์ให้นำเสนอแผนการจัดประสบการณ์วิชาศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัยของแต่ละคน  จากนั้นให้เพื่อนวิจารณ์ข้อบกพร่อง  แล้วอาจารย์จึงให้คำแนะนำเพื่อนำไปแก้ไขอีกที
หมายเหตุ   ฝากงานเพื่อนไปส่ง






การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
            การเขียนแผนการจัดประสบการณ์เป็นสิ่งจำเป็นกับวิชาชีพครู  การเรียนการสอนเรื่องแผนจึงทำให้เราได้เรียนรู้การเขียนแผนที่ถูกต้องและถูกวิธี  ได้เรียนรู้กระบวนการการเขียนแผน  การเลือกเรื่องที่จะนำมา




วันศุกร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 11

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 11
วิชา การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอนอาจารย์ กฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด
วันอังคารที่  31  มีนาคม พ.ศ.  2558
กลุ่มเรียน 104



การเรียนการสอน

            วันนี้เป็นการเรียนเข้าสู่เนื้อหาในหัวข้อเรื่อง การเขียนแผนการจัดประสบการณ์ ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย  เป็นการชี้แจงและอธิบายเนื้อหา ดังนี้
การจัดทำแผนการจัดประสบการณ์
                -  ศึกษาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2546 และเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง
                -  วิเคราะห์หลักสูตรสถานศึกษาและความสัมพันธ์ของมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์  ตัวบ่งชี้และสภาพที่พึงประสงค์ของเด็กอายุ 0-3 ปี และ 3-5 ปี
-  วิเคราะห์สาระการเรียนรู้ ประสบการณ์สำคัญ
                -   กำหนดรูปแบบการจัดประสบการณ์
 -  เขียนแผนการจัดประสบการณ์
การเขียนแผนการจัดประสบการณ์  ประกอบด้วย 5 ขั้น คือ
ขั้นที่ 1 เลือกเรื่อง
                    สังเกตความสนใจ ความต้องการของเด็ก เลือกเรื่องที่ชัดเจน ไม่กว้างจนเกินไป สามารถเชื่อมโยง
กับเรื่องอื่นๆได้  ( ไม่ควรเลือก  หัวข้อสัตว์  คมนาคม   เพราะเป็นหัวข้อที่ใหญ่  ควรเลือก  หัวข้อช้าง สุนัข ผีเสื้อ บ้าน น้ำ รถไฟ ฯลฯ เพราะเป็นหัวข้อย่อย )
ขั้นที่ 2 ระดมความคิด
                เลือกสิ่งที่เด็กรู้แล้ว สิ่งที่เด็กต้องการรู้ และสิ่งที่เด็กควรรู้  โดยย่อยหัวข้อที่เราเลือกเป็นข้อย่อยๆ
ขั้นที่ 3 คิดกิจกรรม
                    คิดกิจกรรมตามความคิดริเริ่มของเด็ก / ครู  และแยกตามกิจกรรมหลัก ดังนี้
                                1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
                                2. กิจกรรมสร้างสรรค์ (ศิลปะ)
                                3. กิจกรรมเสรี (การเล่นตามมุม)
                                4. กิจกรรมเสริมประสบการณ์ (วงกลม)
                                5. กิจกรรมการเล่นกลางแจ้ง
                                6. กิจกรรมเกมการศึกษา
ขั้นที่ 4 จัดกิจกรรมตามพัฒนาการ
                เลือกกิจกรรมที่เหมาะต่อพัฒนาการของเด็กทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา 
ขั้นที่ 5 จัดทำแผนการจัดประสบการณ์
                    ทำบันทึกการสอน พิจารณากิจกรรมใดทำก่อนหลัง และจัดกิจกรรมลงตามรูปแบบที่ให้เลือก
แนวการประเมินผลการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
      -    ประเมินผลทั้งความรู้ ความคิด ความสามารถ ทักษะและกระบวนการ เจตคติ คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมรวมทั้งโอกาสในการเรียนรู้ของผู้เรียน
       -   วิธีวัดและประเมินผลสอดคล้องกับมาตรฐานและตัวชี้วัดของการศึกษาปฐมวัยที่กำหนด
       -    ประเมินผลอย่างตรงไปตรงมา และประเมินภายใต้ข้อมูลที่มีอยู่
ž               -     ผลการประเมินต้องนำไปสู่การแปรผลและลงข้อสรุปที่สมเหตุสมผล
ž               -    มีความเที่ยงตรงเป็นธรรม ทั้งในด้านของวิธีวัดและโอกาสของการประเมิน
จุดมุ่งหมายของการประเมิน
        -   วินิจฉัยความรู้ ความคิด ความสามารถ ทักษะและกระบวนการ เจตคติ คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม เพื่อพัฒนาผู้เรียนได้เต็มตามศักยภาพ
ž                -   ใช้เป็นข้อมูลสะท้อนกลับว่าครูสามารถสอนบรรจุกรอบมาตรฐานการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยที่กำหนดไว้
ž                -   ใช้เป็นข้อมูลในการสรุปผลการเรียนรู้และเปรียบเทียบถึงระดับพัฒนาการของผู้เรียน
การวัดและประเมินผลตามสภาพจริง
  -   ประเมินกระบวนการเรียนรู้ที่นำมาสู่ผลผลิตจากการเรียนรู้
      -   ประเมินความสามารถเพื่อส่งเสริม หรือ แก้ไขปรับปรุง เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาอย่างเต็มศักยภาพเป็นรายบุคคล ( ความสามารถ ความสนใจ ความต้องการ )
  -   ให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการประเมินทั้งการประเมินตนเองและเพื่อน
  -   ข้อมูลที่ได้จากการประเมินจะสะท้อนกระบวนการเรียนการสอนและวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครู
  -   ประเมินการนำไปใช้ในชีวิตจริง
  -   ประเมินด้านต่างๆ ด้วยวิธีการที่หลากหลายในสถานการณ์ต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
แนวทางการให้คะแนนเพื่อการประเมิน : Rubric
     -   แนวทางการประเมินจากสภาพจริง ให้ความสำคัญต่อการแสดงออกที่แท้จริงของผู้เรียนขณะทำกิจกรรม
     -   งานหรือกิจกรรมที่กำหนดให้ผู้เรียนทำมีแนวไปสู่ความสำเร็จของงานและมีวิธีการหาคำตอบหลากหลายแนวทาง
      -   ต้องมีการกำหนดแนวทางการให้คะแนนอย่างชัดเจน จะต้องมีมาตรวัดว่าผู้เรียนทำอะไรได้สำเร็จและระดับความสำเร็จอยู่ในระดับใด

ส่งงานปั้นดินน้ำมัน



การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

            การเขียนแผนการจัดประสบการณ์ถือเป็นส่วนสำคัญของการประกอบวิชาชีพครู  ผู้ที่จะเป็นครูในอนาคตต้องเขียนแผนเป็นและถูก  เพราะก่อนที่เราจะสอนเราจะต้องทำแผนการสอนก่อนเสมอเพื่อวางแผนล่วงหน้าในการจัดกิจกรรมร่วมกับเด็กได้เหมาะสมและสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยและนำแผนการจัดประสบการณ์ไปใช้ในการจัดกิจกรรมประจำวันให้บรรลุผลตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้

การประเมิน

            ตนเอง  :  เข้าเรียนตรงเวลา  แต่งกายเรียบร้อยถูกระเบียบมหาวิทยาลัย  ฟังและจดบันทึกเนื้อหาความรู้เพิ่มเติมจากที่อาจารย์บอกและยกตัวอย่าง
             เพื่อน  :  ตั้งใจฟังเนื้อหาที่อาจารย์สอน  บ้างจดบันทึกลงสมุด  บ้างนั่งฟังและจดจำ  แต่โดยรวมตั้งใจฟังทุกคน  การแต่งกายเรียบร้อย
             อาจารย์  :  มีความพร้อมในการจัดสื่อในการสอน  มีเนื้อหามาสอนพร้อมยกตัวอย่างประกอบและสามารถอธิบายข้อสงสัยได้ชัดเจนทำให้นักศึกษาเข้าใจมากยิ่งขึ้น